วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สมเด็จวัดบางขุนพรหม ปี ๒๕๐๙ / ปี ๒๕๑๗/ ปี ๒๕๓๑

ผมมีสมเด็จปี ๐๙ วัดบางขุนพรหม
พิมพ์ฐานคู่หูจุด ๑ องค์ 
กับปี ๒๕๑๗ ๑ องค์

 
ผมมีสมเด็จปี ๐๙ วัดบางขุนพรหมพิมพ์ฐานคู่หูจุด ๑ องค์ กับปี ๒๕๑๗ ๑ องค์

ประวัติการสร้างบางขุนพรหม 09 ( วัดใหม่อมตรส)
ชุดนี้ ๑๐๐ บาท เท่านั้นครับ 

พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์ไสยาสน์ ปี 09

พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์สมเด็จโต ปี 09


http://www.certificatepra.com/wiki/show_detail.php?sp_id=240 
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์ไสยาสน์ ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์เส้นด้ายเล็ก ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์ฐานคู่หูจุด ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม A ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์เส้นด้ายกลาง ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์ใหญ่ เกศจรดซุ้ม ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์สังฆาฏิ ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์อกครุฑ ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์เกศบัวตูม ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์ปรกโพธิ์ ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์คะแนน ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์ฐานแซม ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพจันทร์ลอย์ ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์ใหญ่เกศจรดซุ้ม ซุ้มมีติ่ง ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม(วัดใหม่อมตรส) พิมพ์เจดีย์มีหู ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์คะแนน ปี 09 บล็อคลุงแฉล้ม
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม B ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม C ปี 09
พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์สมเด็จโต ปี 09


ลิ้งค์นี้มีเรื่องและภาภพระสมเด็จบางขุนพรหม ปี ๒๕๐๙ 
http://www.khrankanessporn.tht.in/aticle75.html 

******************************* 
พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 17 วัดใหม่อมตรส


 บางขุนพรหม ปี 17 พิมพ์รูปเหมือน


จัดสร้างเนื่องในโอกาสครบ 101 ปี แห่งการมรณภาพของสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อนนำเงินรายได้สร้างโรงเรียนเทศบาลวัดใหม่อมตรส ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2517 โดยมีคณาจารย์ร่วมปลุกเสกหลายรูปด้วยกัน อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงปู่เทียม วัดกษัตรา หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ และอาจารย์นอง วัดทรายขาว เป็นต้น ช่างผู้แกะบล็อกแม่พิมพ์ คือ ช่างเกษม มงคลเจริญ พระทุกพิมพ์จะมีฝากรอบเป็นแผ่นทองเหลือง และมีขาหยั่งเป็นตัวกำหนดความหนาขององค์พระ ดังนั้นจึงทำให้ความหนาขององค์พระค่อนข้างเป็นมาตรฐาน ด้านข้างมีทั้งที่แบบที่ปรากฏรอยตัด และเรียบไม่ปรากฏรอยดังกล่าว ส่วนด้านหลังมีทั้งลักษณะเรียบและหลังลายผ้า สำหรับเนื้อหาขององค์พระนั้น ส่วนใหญ่แล้วมีเนื้อละเอียดเป็นมาตรฐานเดียวกัน จะมีแตกต่างกันก็ตรงที่บางองค์มีลักษณะแก่ผง หรือแก่น้ำมันแตกต่างกันไป


การจำแนกพิมพ์ของสมเด็จบางขุนพรหม ปี 17


สมเด็จบางขุนพรหม ปี 2517 มีด้วยกันทั้งหมด 13 แบบแม่พิมพ์ คือ 1. พิมพ์ใหญ่ 2. พิมพ์เส้นด้าย 3. พิมพ์ทรงเจดีย์ 4. พิมพ์เกศบัวตูม 5. พิมพ์สังฆาฏิ 6. พิมพ์ปรกโพธิ์ 7. พิมพ์ฐานคู่ 8. พิมพ์ฐานแซม 9. พิมพ์อกครุฑ 10. พิมพ์ไสยาสน์ 11. พิมพ์คะแนน 12. พิมพ์จันทร์ลอย และ 13. พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต นอกจากนี้แล้ว ในส่วนของพิมพ์ใหญ่นั้น ยังแบ่งแยกออกเป็น พิมพ์ใหญ่ ธรรมดา และพิมพ์ใหญ่ พิเศษ ซึ่งในส่วนของพิมพ์ใหญ่พิเศษนั้นก็มีด้วยกัน 3 ลักษณะ คือ พิมพ์ 5 จุด พิมพ์ 3 จุด และ พิมพ์ 1 จุด ซึ่งด้านหลังขององค์พระจะประทับตราเจดีย์ใหญ่


*************************************** 

พระสมเด็จวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม ปี 31 




พระสมเด็จบางขุนพรหมปี31 พิมพ์ไสยาสน์



พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี31 พิมพ์รูปเหมือน

พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 31
ผู้สร้าง
พระคณาจารย์มหาพุทธาภิเษก


1. พระสังวรวิมลเถร (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี

2. พระรักขิตวันมุนี ( ถิร ) วัดป่าเลไลยก์

3. พระพุทธมนต์วราจารย์ ( สุพจน์ )วัดสุทัศน์ ฯ

4. พระโพธิวรคุณ (ไพฑูรย์ ) วัดโพธินิมิตร

5. พระวิมลกิจจารักษ์ (สิริ ) วัดชนะสงคราม

6. พระศรีสัจญาณมุนี (ประหยัด) วัดสุทัศน์

7. พระศีลขันธโสภณวัดศีลขันธาราม

8. พระครูศรีพรหมโสภิต ( แพ ) วัดพิกุลทอง

9. พระครูโกวิทย์สมุทรคุณ ( เนื่อง ) วัดจุฬามณี

10. พระครูสุตาธิการี ( ทองอยู่ ) วัดหนองพะอง

11. พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดาราม

12. พระครูสาทรพัฒนกิจ (ลมูล)

13 พระครูบริหารสุตาคม ( ทิพย์ )

14. พระครูพิพิธวิหารการ ( เทียม )

อายุการสร้าง
พระบางขุนพรหม ปี พ . ศ . 2531 สร้างขึ้นในมงคลสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลปัจจุบัน เฉลิมพระชนพรรษา 5 รอบและพระราชพิธีมหารัชมังคลาภิเษก เป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งของสำนักนี้ที่ได้รับความนิยมเล่นหาและสะสม แม้จะไม่เทียบเท่ารุ่นปี 2509 และรุ่นปี 2517 แต่ก็ไม่อาจที่จะสามารถมองข้ามได้

องค์ประกอบพระ
เนื่องด้วยเนื้อหามวลสารประกอบไปด้วย ผงพระชำรุดแตกหัก ของพระชำรุดแตกหักของพระกรุบางขุนพรหม พระบางขุนพรหม 09 พระบางขุนพรหม17 มาผสมผสานกันเข้าประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ .ศ. 2531 โดยพระคณาจารย์ชื่อดังของยุคนั้น


ลักษณะวรรณะพระ

การตัดขอบ ในพระรุ่นนี้มีทั้งตัดด้วยมือ และตัดด้วยเครื่อง (ปั๊มตัดสำเร็จ ) ด้านหลังเรียบ มีตรายางประทับทุกองค์โดยมีลักษณะเป็นรูปองค์เจดีย์ด้านล่างเป็นตัวหน้าสื่อโค้งอ่านว่า วัดใหม่อมตรสภายในสร้างวงกลม เฉพาะในกลุ่มพิมพ์พิเศษจะปรากฏคำว่า พิเศษประทับเพิ่มอีกครั้งหนึ่ง เป็นหมึกสีน้ำเงิน

พุทธลักษณะ

มีสร้างทั้งหมด 13 พิมพ์ เหมือนกับพระรุ่นปี พ . ศ. 2517 เฉพาะอย่างยิ่งในพระพิมพ์พิเศษจะใช้บล็อกแม่พิมพ์เดียวกันฉะนั้นควรจดลักษณะเนื้อหา ลักษณะพิเศษอื่นๆ ให้แม่นยำเพื่อป้องกันความสับสน
จำแนกพิมพ์

ประกอบด้วยพระพิมพ์ต่างๆรวม 13 พิมพ์คือ

1. พิมพ์ใหญ่

2. พิมพ์เส้นด้าย

3. พิมพ์ทรงเจดีย์

4. พิมพ์เกศบัวตูม

5. พิมพ์สังฆาฏิ

6. พิมพ์ปรกโพธิ์

7. พิมพ์ฐานคู่

8. พิมพ์ฐานแซม

9. พิมพ์อกครุฑ

10. พิมพ์ไสยาสน์

11. พิมพ์คะแนน

12. พิมพ์จันทร์ลอย

13. พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต

ข้อมูลพิเศษ

พระบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ (พิเศษ) โรยผงสมเด็จ ปี พ .ศ. 2531 พระพิมพ์เดิมของปี

2517 ในพิมพ์ใหญ่ ( พิเศษ ) พิมพ์สามจุด ฉะนั้นเรื่องจุดตำหนิพิมพ์ทรงจึงเหมือนกันทุกประการ สิ่งพิเศษเพิ่มเติมขึ้นมาก็คือ มีการโรยผงเก่าของพระกรุแล้ว ในบางองค์ยังโรยผงของปี 09 และปี 17

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระสมเด็จวัดปากน้ำรุ่น ๑


พระเครื่องในสนามแข่งนกเขาชวาเสียง








พระเครื่องกับสนามแข่งนกเขาชวาเสียงเป็นของคู่กัน  

เชิญท่านที่ตาถึงพิจารณาพระองค์นี้ของผมหน่อยครับ

เดิมอยู่ในกรอบทอง มีการถมเทียนกันน้ำด้านหลังด้านข้าง ด้านหน้ามีแผ่นใสครอบอยู่ครับ

ผมอยากเห็นเนื้อพระจึงให้ช่างร้านกรอบพระนำออกมาดู

ลักษณะสีสันขององค์พระอาจแตกต่าง จากสภาพของแสงครับ





































ท่านที่อยากชมองค์จริงมาฟังนกหัดเลี้ยงที่บ้านจะนำออกมาให้ชมครับ

พระนารายณ์ทรงปืน


สืบเนื่องจากเรื่องนี้ครับ



พระนารายณ์ทรงปืนองค์นี้เป็นของเพื่อนผมครับ ช่วงปีใหม่เขาอยากจะแลกกับสมเด็จวัดปากน้ำรุ่น ๑ ของผม

เป็นพระเนื้อชิน สนิมแดงครับ

ผมดูเนื้อแบบนี้ไม่ค่อยรู้เรื่อง  

ท่านที่เชี่ยวชาญกรุณาออกความคิดเห็นด้วยครับ


พระนารายณ์ทรงปืนองค์นี้เชิญช่วยพิจารณากันครับ


ก่อนเที่ยงวันนี้มีมหกรรมโชว์พระเครื่องย่อย ๆ ที่หน้าบ้านผมครับ ดูไปส่องพระไปพร้อม ๆ กับฟังนกเขาชวาเสียงขันเพราะ ๆ ไปด้วยครับ
งานนี้มีผู้ชม ๒ คน มีพระเป็นร้อย ๆ องค์ครับ


UPDATE

เย็นวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔

พระนารายณ์ทรงปืนองค์นี้ตกลงเพื่อนแลกกับพระใหม่ ส่วนมากเป็นพระเนื้อผงที่เพื่อนผมอีกคนให้มาสัก ๑๕๐-๒๐๐ องค์  เป็นพระธรรมดา ๆ ที่มีตามวัดต่าง ๆ ช่วงสิบกว่าปีก่อน  ผมเก็บมานานแล้ว เคยแจกพรรคพวกไปก็มาก

เพื่อนที่มาดูพระเขาอยากเอาไปทำอะไรไม่ทราบ แต่ผมชอบพระนารายณ์ทรงปืนองค์นี้ จะเป็นพระแท้พระเทียมผมก็ดูแล้วสวยงามดี หากปลอมก็ตั้งหน้าตั้งตาปลอมได้เก่ง  เอามาไว้ศึกษาครับ

จริง ๆ แล้วผมมีพระนารายณ์ทรงปืนอีก ๔ องค์เป็นเนื่อชินตะกั่ว ๒ องค์ กับเป็นเนื้อดินเผาอีก ๒ องค์

เอามาศึกษาครับ

ผมยังมีพระแบบที่เพื่อนเอาไปอีก ๔ กล่อง สัก ๔๐๐ องค์ครับ ไม่มีที่จะเก็บ

เพื่อนผมคนนี้เป็นนักสะสมพระ ส่วนมากจะชอบพระกรุ พระเก่าทุกชนิดมีหลายพันองค์ครับ

พระอยู่ที่เพื่อนคนนี้เขาไม่เอาไปทิ้งแน่ ๆ ครับ
ผมเคยเห็นห้องพระของเขามาแล้วร้านขายพระชิดซ้ายไปเลย

คือหากจะดูจะตรวจสอบคงใช้เวลาสัก ๓ เดือนกว่าจะดูทั่วครับ

...ลืมแจ้งไปว่า พระสมเด็จปากน้ำรุ่น ๑ ของผม ผมมีองค์เดียว ผมขอเก็บไว้บูชาไม่แลก เพื่อนจึงยอมจำนนครับ

พระพุทธชินราช อินโดจีน


พระพุทธชินราช อินโดจีน

วัดสุทัศน์ พ.ศ. ๒๔๘๕


องค์นี้ผมเลือกเพราะทำยาก ต้องใช้เครื่องมือเล็ก ๆ แต่ง สมัยก่อนไม่มีเครื่องกรอแบบเครื่องมือหมอฟัน คงทำนานกว่าจะเสร็จ  แม้ไม่สวยเนี๊ยบแบบพระแต่งสมัยใหม่ที่เครื่องมือทันสมัย  ก็ชอบครับดูขลังดีครับ



สี่ห้าวันที่ผ่านมาผมได้ไปเที่ยวบ้านเพื่อ ไปดูพระ(อีกแล้ว) ทีนี้เพื่อนนำกล่องใส่พระพุทธชินราชอินโดจีนมาให้ชมกล่องหนึ่งมี ๖ พิมพ์ มีพระวัดกิ่งแก้วสไตล์เดียวกันบนอยู่องค์หนึ่ง

เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นของเก่า ระดับ พ.ศ. ๒๔๘๕ 

ในกล่องนี้เป็นพระพุทธชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ ปี ๒๔๘๕(ยกเว้นองค์ซ้ายสุดเป็นพระจากวัดกิ่งแก้ว)


และได้ถ่ายภาพไว้

เมื่อวานตอนหัวค่ำเพื่อนมาหาที่บ้านเอ่ยปากขอแลกเหรียญที่ระลึกบางเหรียญของผม  เมื่อผมนำออกมาให้ชม ๗ เหรียญ เพื่อนก็ชอบ ๔ เหรียญ จึงขอแลกกับพระพัทธชินราชอินโดจีนองค์ใดองค์หนึ่งตามที่ผมจะเลือก

องค์นี้แก่ทองเพื่อนขอไม่ให้เลือก เขารักของเขาครับ ก็ต้องยอม


องค์นี้ก็งดไม่ให้เลือก บอกว่าเขาชอบ(อีกนั่นแหละ)


องค์นี้เป็นของวัดกิ่งแก้ว(หน้า)

องค์นี้เป็นของวัดกิ่งแก้ว(หลัง)





องค์รมดำผมก็ชอบเดี๋ยวจะหาพระไปเจรจาขอแลกอีกสักองค์ ไม่รู้จะได้หรือเปล่าครับ องค์ขวาคือองค์ที่ผมเลือกมาครับ







องค์นี้ตอนนี้อยู่ที่ผมเรียบร้อยแล้วครับ


แล้วผมก็เลือกพิมพ์แต่งเก่ามาครับ สวยงามมาก อ้อผมแถมพระลอยองค์หลวงพ่อโสธร เล็ก ๆ จิ๋ว ๆ ให้องค์หนึ่ง และเพื่อนแถมพระสมเด็จพระธาตุให้ผมองค์หนึ่ง
(สมเด็จพระธาตุมาจากเพดานวัดพระแก้วช่วงที่มีการบูรณะ(เขาว่างั้น)

ในเมื่อเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่ายก็แลกกันเรียบร้อยครับ

ผมมีเหรียญที่ระลึกไม่มาก  แต่เป็นเหรียญธรรมดา ๆ ไม่ใช่เหรียญหายาก พอดีเพื่อนเขาสะสมและไม่มีเลยขอแลกไป

ก็ตามประสาคนชอบพระที่ไม่ได้ซื้อขายกันครับ แลกไปมาตามความพอใจ

บางที่เราไปดูพระของเพื่อนชอบองค์ไหนก็เอ่ยปากขอแลก หรือบางทีก็ขอกันเฉย ๆ หากให้กันได้ เพราะเรามีหลายองค์หรือเพื่อนมีหลายองค์ก็ให้กันฟรี ๆ เลยครับ

ผมนำมาใส่กรอบไว้ก่อน กันลืมปะปนกับพระอื่น ๆ (มีพระใหม่สไตล์นี้หลายองค์)

ผมว่าพระองค์นี้เนื้อเหลืองสวยดีครับ !!